Over the course of many years, without making any great fuss about it, the authorities in New York disabled most of the control buttons that once operated pedestrian-crossing lights in the city. Computerised timers, they had decided, almost always worked better. By 2004, fewer than 750 of 3,250 such buttons remained functional. The city government did not, however, take the disabled buttons away—beckoning countless fingers to futile pressing.
Initially, the buttons survived because of the cost of removing them. But it turned out that even inoperative buttons serve a purpose. Pedestrians who press a button are less likely to cross before the green man appears, says Tal Oron-Gilad of Ben-Gurion University of the Negev, in Israel. Having studied behaviour at crossings, she notes that people more readily obey a system which purports to heed their input.
Inoperative buttons produce placebo effects of this sort because people like an impression of control over systems they are using, says Eytan Adar, an expert on human-computer interaction at the University of Michigan, Ann Arbor. Dr Adar notes that his students commonly design software with a clickable “save” button that has no role other than to reassure those users who are unaware that their keystrokes are saved automatically anyway. Think of it, he says, as a touch of benevolent deception to counter the inherent coldness of the machine world.
That is one view. But, at road crossings at least, placebo buttons may also have a darker side. Ralf Risser, head of FACTUM, a Viennese institute that studies psychological factors in traffic systems, reckons that pedestrians’ awareness of their existence, and consequent resentment at the deception, now outweighs the benefits. | หลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานในนิวยอร์คค่อยๆเลิกใช้งานปุ่มกดสัญญาณไฟข้ามถนน พวกเขาคิดว่าเครื่องจับเวลาโดยคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ดีกว่าเกือบจะเสมอๆ ในปี 2004 มีปุ่มกดดังกล่าวจำนวนน้อยกว่า 750 แห่งจากทั้งหมด 3,250 แห่ง ที่ยังคงใช้งานอยู่ แต่ฝ่ายบริหารของเมืองก็ไม่ได้ถอดปุ่มกดดังกล่าวออก ปล่อยให้นิ้วจำนวนมากมายกดปุ่มไปแบบไร้ผล แต่แรกเริ่มเดิมที ปุ่มกดสัญญาณเหล่านั้นยังคงอยู่เนื่องด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่ายในการถอดมันออก แต่กลับกลายเป็นว่า แม้แต่ปุ่มที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็ยังมีประโยชน์อยู่ ทัล โอรอน-กิลาด มหาวิทยาลัย เบน กูเรียน แห่งเนเกฟในอิสราเอล ซึ่งศึกษาเรื่องพฤติกรรมการข้ามถนน กล่าวว่า คนเดินเท้าที่กดปุ่มสัญญาณมักจะไม่ค่อยข้ามถนนก่อนสัญญาณคนข้ามเป็นสีเขียว เธอกล่าวด้วยว่าผู้คนจะพร้อมทำตามระบบที่ให้พวกเขาได้มีส่วนป้อนข้อมูลอะไรลงไปมากกว่า เอทัน อาดาร์, ผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่าปุ่มกดสัญญาณที่ไม่ได้ใช้งานแล้วส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ยาหลอกในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากคนเรานั้นชอบความรู้สึกที่ได้มีการควบคุมเหนือระบบที่เขากำลังใช้อยู่, แอน อาร์เบอร์. ดร.อาดาร์ ให้ข้อสังเกตุว่านักเรียนของเขามักจะออกแบบซอฟต์แวร์ให้มีปุ่มบันทึก ซึ่งมันไม่มีบทบาทอื่นใดนอกจากให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้ซึ่งไม่รู้ว่าการกดแป้นของพวกเขาถูกบันทึกไว้อยู่แล้วโดยอัตโนมัติ ลองคิดดูสิ เขากล่าว เสมือนว่ามันเป็นการหลอกลวงอย่างมีเมตตา เพื่อต่อต้านความเย็นชาโดยธรรมชาติของโลกจักรกล นั่นคือมุมมองหนึ่ง แต่อย่างน้อยสำหรับการข้ามถนนแล้ว ปุ่มกดสัญญาณไฟข้ามถนนหลอกอาจจะมีผลด้านลบอยู่ ราล์ฟ ริซเซอร์ หัวหน้าของ FACTUM สถาบันของเวียดนามแห่งหนึ่งซึ่งศึกษาเรื่องปัจจัยด้านจิตวิทยาในระบบการจราจร เชื่อว่า ความตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของตนเองและความไม่พอใจที่ถูกหลอกของผู้เดินเท้านั้น มีผลมากกว่าเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ |